วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กลูตาไธโอน" ช่วยให้ผิวขาวขึ้นได้จริงหรือ?


ข้อความเหล่านี้ คือโฆษณาชวนเชื่อที่มีอยู่จริงและมีอยู่มากในเว็บไซต์ ใบปลิว ที่ต่างก็อวดอ้างสรรพคุณสาร "กลูตาไธโอน" หรือที่วัยรุ่น ชาวมหาวิทยาลัยเรียกสั้นๆ ว่า "สารขาว" ว่ามีคุณสมบัติทำให้ผิวขาวนวลผ่องเป็นยองใยเหมือนดารา ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สารชนิดนี้ถูกคิดค้นเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งตับ

              กลูตาไธโอน (Glutathione) เป็นสารประเภท Tripeptide ที่ประกอบด้วย กรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ Cysteine, Glycine, Glutamic acid กลูตาไธโอนเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ชนิดละลายน้ำได้ที่สำคัญที่ร่างกายสร้าง ขึ้น และเป็นพื้นฐานสำหรับสารแอนติออกซิแดนท์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมทั้งกลูตาไธโอน เปอร์ออกซิเดส สารประกอบกลูตาไธโอน ช่วยปกป้องร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยตับในการย่อยสลายสารพิษ ร่างกายของเราจะผลิตมากขึ้นหากได้รับสารพิษเข้าไป เช่น ยาฆ่าแมลง สารเคมีต่างๆ ที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม สารพิษเหล่านี้จะทำลายเซลล์และระบบของร่างกาย

              ความจริงแล้ว สารชนิดนี้ถูกคิดค้นเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งตับ แต่ปัจจุบันมีกลุ่มคลินิกเสริมความงาม อ้างว่าเป็นสารที่ใช้ผสมกับวิตามินซี ฉีดทำดีท็อกซ์ผิวขาว ทำให้มีการนำไปใช้เป็นอาหารผิวเพื่อผิวเนียนขาวใสอย่างแพร่หลายและกว้างขวาง ซึ่งเป็นที่นิยมของดารา นางแบบ นายแบบ

กลูตาไธโอนชนิดฉีด

หน้าที่หลักของกลูตาไธโอนที่เด่นมีอยู่ 3 ประการ คือ

              1. Detoxification : กลูตาไธโอนช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะ Glutathione-S-transferase ที่ช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ (ละลายในน้ำมัน) เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง แม้แต่ยาบางชนิดให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้น และง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายโดยแอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่ ยาพาราเซตามอลเกินขนาด

              2. Antioxidant : กลูตาไธโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Antioxidant) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมหรือความแก่ของเซลล์ (aging) และการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เส้นเลือดตีบ ต้อกระจก เป็นต้น

              3. Immune Enhancer : ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอม รวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้ กลูตาไธโอนยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีน และ Prostaglandin สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้หญิงที่ต้องการให้ผิวเนียน ใส ขาวกระจ่าง เปล่งปลั่ง (เป็นเหตุผลที่เธอเสริมกลูตาไธโอนมากที่สุด)

              โดยปกติ แล้วร่างกายเราจะไม่ขาดกลูตาไธโอน นอกเสียจากจะเป็นโรคบางชนิดที่ทำให้เกิดความต้องการสารตัวนี้มากขึ้น หรือโรคที่ต้านการสร้าง Glutathione โรคหรืออาการบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการขาดสารนี้หรือต้องการสารนี้ในปริมาณ เพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคตับ เบาหวาน โรคความดัน ต้อหิน มะเร็ง เอดส์ ฯลฯ ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะพบว่ามีระดับกลูตาไธโอนในเลือดต่ำ เนื่องจากอัตราในการใช้กลูตาไธโอนเพิ่มขึ้น

              พบสารชนิดนี้ได้ในพืชผักชนิดต่างๆ ผลไม้ทั่วไปและเนื้อสัตว์ แต่จะพบมากในหน่อไม้ฝรั่ง อะโวกาโด วอลนัท นม ไข่ สตรอเบอร์รี มะเขือเทศ ผักบรอคโคลี ส้มเกรปฟรุต และผักโขม ปัจจุบันกลูตาไธโอนมีวางจำหน่ายในหลายรูปแบบ เช่น ชนิดเม็ดหรือแคปซูล ชนิดพ่น ชนิดฉีดเข้าเส้นและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

              ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงใดๆ และไม่มีรายงานความเป็นพิษ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในระยะสั้น หรือระยะยาว ระดับความปลอดภัยจัดเป็น "อาหารเสริม" ไม่ใช่ "สมุนไพร" การผลิตโดยทั่วไปผ่านกระบวนการสังเคราะห์ ผลข้างเคียงที่มีรายงานคือ การกินปริมาณสูงติดต่อกันจะทำให้ผิวขาวใสเร็วขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น